วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเด็นและแนวโน้มในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาล ^^





                                 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่จะมีอิทธิพลต่อนักสารสนเทศ นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและผู้อยู่ในแวดวงสารสนเทศเท่านั้น     ในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีอิทธิพลต่อทุกๆ คนภายในครอบครัว 


  •  ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศทางการพยาบาล 

                      เป็นการผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางการพยาบาล คอมพิวเตอร์ และสารสนเทศ เพื่อจัดการสารสนเทศให้เกิดความรู้ในการปฏิบัติการพยาบาล และใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจดูแลผู้ป่วย การบริหาร การวิจัย

ความสำคัญ

  1. กำหนดนโยบายทางการพยาบาล
  2. พัฒนางานบริหารการพยาบาล (คน เงิน ของ) 
  3. พัฒนาคุณภาพการพยาบาล 
  4. พัฒนาศักยภาพบุคลากรพยาบาล

  • การพัฒนาสารสนเทศทางการพยาบาลของสำนักการพยาบาล

เป้าหมายหลัก

  1. เพื่อให้มีข้อมูล สารสนเทศด้านบริการพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข (ระดับประเทศ)
  2. เพื่อให้มีศูนย์สารสนเทศด้านบริการพยาบาล ทำหน้าที่คล้าย The National Database of Nursing Quality Indicators (NDNQI)

ความสำคัญ 

  1. เป็นฐานข้อมูลกลาง ในการกำหนดนโยบายของประเทศ/กระทรวง และกำหนดความก้าวหน้าของพยาบาล 
  2. เป็นข้อมูลกลางสำหรับ CNO ระดับประเทศและระดับต่างๆเพื่อการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
  3. สามารถเชื่อมโยง และเปรียบเทียบค่ามาตรฐานกลางระดับประเทศ

ทิศทางการพัฒนาสารสนเทศทางการพยาบาล 

  1. พยาบาลสารสนเทศ และพยาบาลเพิ่มสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์      
  2. ระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่เชื่อมโยงในแต่ละระดับของข้อมูล(หน่วยงาน โรงพยาบาล จังหวัด ส่วนกลาง) 
  3. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในระบบการปรึกษางานการพยาบาลทั้งระบบพยาบาลปรึกษาพยาบาลเฉพาะทาง และระบบผู้ป่วย/ประชาชนปรึกษาพยาบาล
  4. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลด้านการพยาบาลเพิ่มมากขึ้น
  5. นวัตกรรมด้านสารสนเทศทางการพยาบาลมากขึ้น
ด้านการพยาบาลก็ได้มีการนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในการพยาบาล    ไม่ว่าจะเป็นการนำมาประยุกต์ใช้ทางคลินิก   ซึ่งในการประเมิน  เฝ้าระวัง  สังเกตอาการ  และบันทึกข้อมูลผู้ป่วย    การประยุกต์ในชุมชน เช่น  ระบบที่มีการควบคุม   การส่งข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดโรค  การะบาดของโรคต่างๆ   การใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารพยาบาล   หรือ  ใช้ในการทำวิจัยทางการพยาบาล   จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น   จะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในแทบทุกๆภาคส่วน    ในงานด้านการพยาบาลจึงเป็นเหตุผลว่าแนวโน้มในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาลนั้นเพิ่มขึ้น      จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการพัฒนาด้านระบบสารสนเทศทางการพยาบาล ให้มีความทันสมัย    และรองรับกับนำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาล




ประโยชน์ของสารสนเทศทางการพยาบาล
ด้านบริหาร : ช่วยจัดระบบ และการตัดสินใจ ประเมินประสิทธิผลการพยาบาล
ด้านบริการ : จัดระบบการบริการผู้ป่วย (ICNP, Nanda, NIC, NOC) รวดเร็ว
ด้านวิชาการและงานวิจัย : จัดระบบข้อมูล การนำเสนอ การบริการวิชาการ
ระบบสารสนเทศทางการพยาบาล (Nursing information system: NIS)
       เป็นระบบสารสนเทศย่อยภายใต้ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. งานปฏิบัติทางการพยาบาล
2. งานบริหารทางการพยาบาล
3. งานวิจัยทางการพยาบาล
4. งานการศึกษาทางการพยาบาล


เอกสารอ้างอิง
1. ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2557).พยาบาลสารสนเทศ. ใน วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 84. www.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/viewFile/30239/26073
2.  http://www.bmnhos.com/en/public-relations/articles

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

^^ การประยุกต์ใช้ ICT ทางการพยาบาล ^^

              Information and Communication Technology (ICT) หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือการผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ครอบคลุมระบบสื่อสารอันได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ โทรสาร โทรศัพท์ เครื่องมือการสื่อสารอื่น ๆกับระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลและบริการสารสนเทศ ตลอดจนระบบเครือข่ายโทรคมนาคมจำนวนมากที่เชื่อมโยงติดต่อกันและใช้ร่วมกันได้
 

ประโยชน์ของ ICT
  การ นำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ
                     1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
                    2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
                    3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
                    4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
UploadImage
                    5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
                    6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
                    7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
                     8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ
 
 ตัวอย่างการนำ ICT มาใช้ทางการพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
 
               การวินิจฉัยการพยาบาล  หมายถึง  “การใช้วิจารณญาณทางคลินิกเกี่ยวกับการตอบสนองของบุคคล ครอบครัว ชุมชน ต่อปัญหา สุขภาพ ในปัจจุบัน หรือต่อปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหรือต่อกระบวนการของชีวิต โดยข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลจะเป็นพื้นฐานของการเลือกวิธีการให้การพยาบาล เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของพยาบาล
 
Clinical judgment  การใช้วิจารณญาณทางคลินิก = กระบวนการคิด พิจารณา (ข้อมูล) เพื่อให้ได้ข้อสรุป
Human responses = อาการ อาการแสดง พฤติกรรม -- ภายนอก-- ภายใน-- กระบวนการทำงานของร่างกาย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล   หมายถึง  ข้อความที่แสดงถึงภาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ในภาวะสุขภาพดี ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล  จะเป็นข้อความที่สรุปภาวะ-สุขภาพ  ในภาวะเจ็บป่วย  ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลจะระบุถึงความแตกต่างจากปกติของผู้รับบริการ  ภาวะที่แตกต่างจากปกติ   อาจจะเป็นปัญหาในปัจจุบันที่เป็นอยู่  หรือภาวะที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

ลักษณะสำคัญของการวินิจฉัยการพยาบาล

1.  ต้องใช้สติปัญญาในการวิเคราะห์   สังเคราะห์
2.  ใช้ข้อมูลทั้งเชิงอัตนัย  และ ปรนัย
3.  ได้จากการตัดสินใจของพยาบาลและให้แนวทางการพยาบาลตลอดจนเป็นสภาพการณ์ที่พยาบาลสามารถให้การดูแลได้
4.  พยาบาลมีความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์การพยาบาล
5.  แสดงถึงปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการ
6.  ระบุถึงภาวะสุขภาพที่เกิดขึ้น และที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
7.  เป็นผลสรุปจากการประเมินจัดกลุ่มอาการและ  อาการแสดง 
8.  ข้อความกะทัดรัด  ชัดเจน
9.  ประกอบด้วยข้อความ ส่วน คือ การตอบสนองของผู้รับบริการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยเชื่อมข้อความทั้งสองส่วนด้วยคำว่า สัมพันธ์กับ” “เกี่ยวข้องกับ
10. ตรวจสอบความตรงกับผู้รับบริการได้

ประโยชน์และความสำคัญของการวินิจฉัยทางการพยาบาล
                ถ้าเรา (พยาบาล) ไม่สามารถระบุได้   เราก็ไม่สามารถควบคุม, สนับสนุนงบประมาณ, สอน, วิจัย   หรือกำหนดนโยบายได้” (If we cannot name it, we cannot control It, finance it, teach it research it or put it into public Policy)
1.  บริการพยาบาลมีประสิทธิภาพ  เป็นมาตรฐาน   ให้การดูแลผู้ป่วย แต่ละคนอย่างต่อเนื่อง
2.  บอกจุดมุ่งหมายและแนวทางของการวางแผนการพยาบาลได้
3.  เห็นบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
4. เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างทีมการพยาบาล
5.  เป็นหลักฐานในการให้การพยาบาล
6.  ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและการพยาบาล
7.  ช่วยจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลมีความเหมาะสม
8.  เป็นข้อมูลสำหรับการประกันคุณภาพและมาตรฐานการพยาบาล
9.  เป็นรูปแบบในการศึกษาและวิจัย
 
  ระบบสารเทศทางคลินิก (Clinical information system)
                  เป็นระบบการจัดการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แพทย์และพยาบาลจะใช้ระบบนี้ในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการวางแผน การนำไปใช้ และการประเมินการดูแลผู้ป่วย

ตัวอย่างเช่น
   - ระบบสารสนเทศทางการแพทย์
           1.บันทุกข้อมูลทางการพยาบาล เช่น
                    1.1North American Nursing Diagnosis Association : NANDAสมาคมการวินิจฉัยทางการพยาบาลอเมริกาเหนือ
                    1.2Nursing Intervention Classification : NIC ใช้ตัดสินว่าจะให้การบำบัดทางการพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยเพื่อแก้/บรรเทาปัญหาทางสุขภาพ
                   1.3Nursing Outcome Classification : NOC ระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่ช่วยประเมินว่าผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพครบถ้วนและเท่าเทียมกันทุกคน
                   1.4International Classification Nursing Practice : ICNP การใช้คามาตรฐานในการวินิจฉัยทางการพยาบาล
           2.มีความยืดหยุ่นในการใช้ระบบเพื่อดูข้อมูลและเก็บรวบรวมสารสนเทศที่จำเป็นทำให้มีการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ

- ระบบติดตาม (
Monitor system)

                1.เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดทางชีวภาพแบบอัตโนมัติในหน่วยวิกฤต และหน่วยเฉพาะโรค
                2.รูปแบบของระบบติดตาม
การเตือนเมื่อพบสิ่งที่ผิดปกติ
               1.ระบบติดตามแบบเคลื่อนที่
               2.การบันทึกสิ่งค้นพบที่ผิดปกติ
               3.สามารถถ่ายโอนข้อมูลผู้ป่วยเข้าไปสู่ระบบอื่นได้ เพื่อที่จะได้มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
- ระบบห้องปฏิบัติการ (Laboratory system)

                  1.บันทึกข้อมูลผลการตรวจต่างๆ ทางห้องปฏิบัติการ
                  2.สามารถเข้าถึงผลการตรวจได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
                  3.ช่วยลดความผิดพลาดในการายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกิดจากคน ตัวอย่าง เช่น ระบบฐาน
ข้อมูลห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา 
- ระบบรังสี (Radiology system)



                 1.เก็บข้อมุลเป็นภาพดิจิตอลแทนฟิล์มรังสีแบบเดิม
                 2.สามารถเข้าถึงข้อมูลภาพทางรังสีได้อย่างรวดเร็วขึ้น
                 3.สามารถส่งต่อภาพรังสีไปยังแหล่งอื่นๆ เพื่อส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลอื่น ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูล x-ray ของโรงพยาบาลศิริราชระบบ SIPACS

- ระบบเภสัชกรรม (Pharmacy system)



                1.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา
                2.สามารถเข้าถึงประวัติผู้ป่วยและการให้ยาได้ รวมทั้งประวัติการแพ้ยาและข้อมุ,ส่วนบุคคล
                3.ช่วยแพทย์ในการตัดสินใจว่ายาตัวไหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
               4.การคำนวณการใช้ยา ค่าใช้จ่ายและออกใบเสร็จรับเงิน 
 
แหล่งข้อมูล 
http://www.slideshare.net/SirinyaPaungjumpa/unit8-17152258
 http://thainurseclub.blogspot.com/2013/10/nursing-diagnosis.html